ขับเคลื่อนโดย Blogger.
RSS

ผลไม้เมืองหนาว


ผลไม้เมืองหนาว
บ้านผาเจริญ เป็นหมู่บ้านลาหู่เล็กๆที่มีหลังคาเรือนเพียง ๑๕ หลัง อยู่ห่างจากอำเภอปางมะผ้าประมาณ 15 กิโลเมตร

ชาวมูเซอแดงบ้านผาเจริญ อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน เดิมทีมีวิถีชีวิตดำรงอยู่ด้วยการทำไร่หมุนเวียน เช่น ข้าว ข้าวโพด ถั่วแดง พืชต่างๆ และเลี้ยงสัตว์ เช่น สุกร ไก่ วัว เป็นต้น ต่อมาชุมชนได้รับผลกระทบจากนโยบายการจำกัดพื้นที่ทำกินในเขตป่า ทำให้ไม่สามารถอพยพหรือขยายพื้นที่ทำกินต่อไปได้ อีกทั้งพื้นที่ทำกินที่ชุมชนมีอยู่อย่างจำกัดก็ไม่สามารถปลูกข้าวให้ได้ผลผลิตที่เพียงพอต่อการบริโภคของคนในชุมชนได้ตลอดปี

จนกระทั่งปี พ.ศ.2527 โครงการพัฒนาพื้นที่สูงไทย - เยอรมัน ได้เข้ามาส่งเสริมให้ชาวบ้านมีรายได้นอกเหนือจากอาชีพเดิม โดยสนับสนุนให้ปลูกไม้ผลเมืองหนาว เช่น ท้อ สาลี่ และผลไม้อื่นๆ อีกหลายชนิด จนผ่านไปหลายปีชาวบ้านเริ่มเห็นว่าการปลูกไม้ผลเมืองหนาวนั้นไม่ต้องใช้ต้นทุนสูง ใช้พื้นที่น้อย และไม่ต้องดูแลมากเท่าอาชีพเดิม อีกทั้งยังสามารถให้ผลผลิตตลอดปี มีรายได้ต่อเนื่อง สามารถนำมาซื้อข้าวไว้เพื่อบริโภคในส่วนที่ไม่เพียงพอจากการทำไร่

 แต่ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาชาวบ้านได้รับผลกระทบภายใต้สถานการณ์กระแสโลกาภิวัตน์ที่ทำให้คนในชุมชนต้องมีค่าครองชีพที่สูงขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่รายได้ยังเท่าเดิมเนื่องจากไม่สามารถจัดการกับผลผลิตไม้ผลเมืองหนาวที่ออกมาได้อย่างคุ้มค่า ด้วยผลผลิตออกมาในจำนวนเกินกว่าที่จะรับประทานเองในครอบครัวและจำหน่ายไม่หมด ถึงแม้ชาวบ้านจะได้รับคำแนะนำจากหน่วยงานในการแปรรูปด้วยวิธีดองเค็ม แต่ก็ไม่สามารถดำเนินการจนเป็นรูปแบบ เนื่องจากขาดการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องและความต้องการของตลาดก็มีจำกัด อีกทั้งวิธีการดองเค็มของชาวบ้านก็มีความแตกต่างกัน ชาวบ้านจึงแก้ปัญหาเฉพาะหน้าด้วยการนำผลผลิตไปขายตามตลาด แต่ก็ได้เพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ที่เหลือเกิน 50 % ต้องทิ้งโดยเปล่าประโยชน์ ผลกระทบเหล่านี้ได้สร้างความเดือดร้อนให้กับชาวบ้านแล้วคงจะมีแนวโน้นที่จะทำให้ชาวบ้านย้อนกลับไปประกอบอาชีพดั้งเดิม คือ ทำไร่ด้วยการตัดไม้ป่าเพื่อขยายและปรับเปลี่ยนพื้นที่เพาะปลูกในแต่ละปี อันเป็นแนวทางที่สวนทางกับนโยบายภาครัฐ หรืออาจจะต้องเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตไปสู่ทางเลือกอาชีพอื่นเพื่อที่จะให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ อันเป็นการละทิ้งศักยภาพทุนเดิมที่มีอยู่แล้วในชุมชน

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น